วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย เรื่อง ผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย

สรุปวิจัย
เรื่อง ผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย  นางสาวเสาวภาคย์   สว่างจันทร์

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
เพื่อศึกษาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
ขอบเขตของการวิจัย
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชายและหญิงที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนวัดเลียบ จังหวัดสงขลา  จำนวน 20 คน
ระยะเวลาในการทำวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ระยะเวลาในการทดลองเป็น 8 สัปดาห์  สัปดาห์ 3 วันวันล่ะ 45 นาที รวมเวลาสอนทั้งสิ้น 24 วัน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.            ในแนวทางสำหรับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ไปพัฒนาทักษะการจำแนก
2.            ได้แนวทางสำหรับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องในการนำกิจกรรมที่ใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ไปประยุกต์ใช้  เพื่อพัฒนาทักษะด้านอื่นๆ ของเด็กปฐมวัย
                                             
       สมมุติฐานของการวิจัย
เด็กปฐมวัยมีทักษะการจำแนกสูงขึ้นหลังจากได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
นิยามศัพท์เฉพาะ
เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กปฐมวัยชายและหญิงที่มีอายุระหว่าง  5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนวัดเลียบ  จังหวัดสงขลา
กระบวนการสืบเสาะหาความรู้  หมายถึง  กระบวนการที่ส่งเสริมให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ในสิ่งต่างๆด้วยตนเอง โดยมีขั้นตอน 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย
1.            ครูและเด็กเป็นผู้ตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์
2.            เด็กสำรวจตรวจสอบรวบรวมข้อมูล
3.            เด็กสามารถตอบคำถาม  สร้างคำอธิบายอย่างมีเหตุผล
4.            เด็กนำเสนอผลงานจากการสำรวจตรวจสอบ  โดยการจัดประสบการณ์ผ่านกิจกรรมที่เด็กลงมือปฏิบัติ
ทักษะการจำแนก  หมายถึง  ความสามารถในการจัดกลุ่ม  เรียงลำดับและหาความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ  สถานที่ต่างๆ  สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและปรากฏการณ์ธรรมชาติ โดยมีกฎเกณฑ์ความเหมือนความต่างหรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง  ซึ่งสามารถวัดได้ด้วยแบบประเมินทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.            แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้  เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนก  จำนวน 24 แผน
2.            แบบประเมินทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย  โดยใช้การจำลองสถานการณ์ในการประเมินทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย
สรุปผลการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัยโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้  มีวัตถุประสงค์ในการทำวิจัย คือ เพื่อศึกษาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
สรุปผลการจัดกิจกรรม
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้มีคะแนนทักษะการจำแนกหลังได้รับการจัดประสบการณ์โดยการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์โดยการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้  และจากการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมพบว่า ทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยการใช้กระ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น