วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 30 ตุลาคม 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น. เวลาเข้าเรียน 08.30น. เวลาเลิกเรียน 12.20น.
ความรู้ที่ได้รับ (knowledge)
วันนี้อาจารย์เริ่มการเรียนการสอนด้วยการพูดเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานของสาระวิทยาศาสตร์เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่การเรียนการสอน
โดยวันนี้อาจารย์นำอุปกรณ์การทดลองทางวิทยาศาสตร์มาอย่างหลากหลายให้ได้ทำการทดลองกัน
อาจารย์ได้เตรียมอุปกรณ์ไว้ให้สำหรับการทดลองในวันนี้
การทดลองกิจกรรมที่ 1
อาจารย์แจกดินน้ำมันคนละ 1 ก้อน ก้อนเล็ก โดยมีการกำหนดเกณฑ์ในการทำกิจกรรมครั้งนี้ว่า แต่ละแถวทำอย่างไรก็ได้เพื่อไม่ให้ดินน้ำมันจมลงไปในน้ำ ตัวอย่างดังในภาพ
โดยผลการทดลองที่ได้ออกมา สรุปได้ดังนี้คือ
เมื่อดราหย่อนดินน้ำมันที่ยังเป็นก้อนกลมๆอยู่นั้นจะทำให้ดินน้ำมันนั้นจมลงไปใต้น้ำ
แต่ถ้าเมือไหร่เราทำให้ดินน้ำมันบางลงโดยมีคอบประคองอยู่ดินน้ำมันก้อไม่สามารถจมได้
ลอยน้ำ(float)ได้ เพราะการที่วัตถุสามารถลอยตัวอยู่ในน้ำได้
เนื่องจากวัตถุนั้นมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำและน้ำก็มีแรงดัน(pressure)วัตถุให้ลอยขึ้นมา
แรงนี้เรียกว่าแรงลอยตัวหรือแรงพยุง ซึ่งแรงนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่
ยิ่งวัตถุมีพื้นที่สัมผัสกับน้ำมากเท่าไหร่หรือเข้าไปแทนที่น้ำได้มาก
ความหนาแน่น(densely)ของวัตถุจะลดลงและแรงลอยตัวจะเพิ่มขึ้นวัตถุจึงลอยตัวในน้ำได้
การทดลองกิจกรรมที่ 2
อาจารย์ได้แจกกระดาษพับ 4 ส่นแบ่งครึ่งกับเพื่อน แล้วให้ตัดกระดาษนั้นเป็นรูปดอกไม้ตามความชอบของเราและตกแต่งความสวยงามให้กับดอกไม้ โดยแต่ละแถวของเพื่อนจะได้กระดาษที่ไม่เหมือนกัน จะมีกระแข็งกับกระดาษบาง หลังจากการทดลองพบว่ากระดาษแข็งจะคล้ายตัวได้ช้าเมื่ออยู่ในน้ำเพราะกระดาษแข็งมีความหนาแน่นกว่า แต่เมื่อเปรียบเทียบกับกระดาษบาง กระดาษบางจะคลายตัวได้รวดเร็วกว่ากระดาษแข็ง การทดลองดังภาพ
โดยสรุปผลการทดลองออกมาว่า เมื่อเรานำกระดาษที่ตัดเป็นดอกไม้ไปลอยในน้ำจะพบว่าดอกไม้จะค่อยๆบานออกมาเรื่อยๆ ความแตกต่างระหว่างกระดาษแข็งและกระดาษอ่อน กระแข็งจะบานออกช้ากว่าเพราะมีความหนาแน่นกว่ากระดาษอ่อน
นอกจากกิจกรรมที่ได้นำมาเสนอข้างต้น อาจารย์ยังมีอีกหลายกิจกรรมที่นำมาทดลองให้ดูกันในห้องเรียน ดังในภาพ
แรงดันของน้ำ
น้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต้ำ
เทียนกับแก้วน้ำ เรื่องอากาศ
ดินสอกับแก้วน้ำ
การนำไปประยุกต์ใช้
เราสามารถนำความรู้ในการทดลองวิทยาศาสตร์ในครั้งนี้ไปยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ รวมไปถึงตลอดจนการจัดกิจกรรมต่างๆให้กับเด็ก และยังสามารถไปพัฒนาตนเองให้มีความชำนาญในเรื่องการทดลองทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น เพื่อเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ในอนาคตต่อไป
การประเมินหลังเรียน
(assessment)
ตนเอง (Me)
เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำกิจกรรม
มีการแบ่งปันอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกับเพื่อน มีการตอบคำถาม
แสดงความคิดเห็นในข้อที่สงสัย
เพื่อน (Friends)
ส่วนมากเข้าเรียนกันตรงเวลา ตั้งใจทำกิจกรรม ตั้งใจฟังอาจารย์สอนกันดี
อาจารย์ (Teachers)
อาจารย์มีการเตรียมการสอนและกิจกรรมที่หลากหลายมาให้ทำ
และอาจารย์ใช้การสอนที่ให้เด็กได้ลงมือทำ ได้สังเกตและร่วมกันหาคำตอบร่วมกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น