วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

วัน/เดือน/ปี  13  ตุลาคม  2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20.

วันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียน เนื่องจากดิฉันไม่สบาย จึงได้นำสรุปในการเรียนวันนี้มาจาก  
นางสาวจิตราภรณ์   นาคแย้ม


ความรู้ที่ได้รับ (knowledge)


วันนี้เป็นการนำเสนองานวิจัยของเพื่อน โดยงานวิจัยที่เพื่อนๆนำเสนอ มีดังนี้
1.) เรื่อง การส่งเสริมทักษะการสังเกต โดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา

        : โดยงานวิจัยนี้จะใช้เกมการศึกษามาใช้ในการวิจัยเพื่อเพิ่มทักษะการสังเกตให้้กับเด็กเมื่อได้เล่นเกมการศึกษา

2.) เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลลังจากการเล่านิทาน

          : งานวิจัยชิ้นนี้จะใช้นิทานเพื่อนำมาพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คือ ทักษะการสังเกต การจำแนก และการสื่อสาร จากการใช้นิทาน
       
3.) เรื่อง การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็ก นักวิจัยที่มีผลต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

          :งานวิจัยนี้จะใช้แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาเพื่อเปรียบเทียบทักษะทางกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการเรียนรู้แบบนักวิจัยก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง

4.) เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

          :งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการสอนเด็กเรื่องสีจากธรรมชาติโดยให้ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้ คือทักษะการสังเกต การจำแนก มิติสัมพันธ์ และทักษะการลงความเก็น

5.) เรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ

         :งานวิจัยชิ้นนี้จะใช้แผนโดยเน้นให้เด็กลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยผ่านทักษะกระบวนทางวิทยาศาสตร์ คือ ทักษะการจำแนก การวัดปริมาน มิติสัมพันธ์ และการลงความเห็น

6.) เรื่อง การคิกวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

           :ในวิจัยชิ้นนี้เป็นการให้เด็กได้ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาสาสตร์คือ ทักษะการฟัง การสังเกต คิดแก้ปัญหา และทักษะการใช้เหตุผล

7.) เรื่อง การคิดย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

            :งานวิจัยชิ้นนี้ ใช้แผนการจัดกิจกรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อวิจัยการคิดอย่างมีเหตุผลหลังจากการทำกิจกรรม
 การนำไปประยุกต์ใช้ (apply)

         ในงานวิจัยที่ได้มีผู้ได้ศึกษาไว้แล้วมีผลสรุปออกมาในทางที่ดีขึ้นหรือตรงตามจุดประสงค์ เราก็สามารถนำตัวกิจกรรมต่างๆที่ผู้วิจัยได้ใช้มาเพื่อนำมาจัดกิจกรรมให้กับเด็ก เพื่อพัฒนาและส่งเสริมทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กได้


การประเมินหลังเรียน (assessment)
   ตนเอง (Me) เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานวิจัย มีการจดบันทึกวิจัยที่เพื่อนนำเสนอ มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกันในห้อง 

    เพื่อน (Friends) ส่วนมากเข้าเรียนกันตรงเวลา มีการเตรียมตัวในการนำเสนองานวิจัยกันมาค่อนข้างดี และตั้งใจนำเสนองานและฟังเพื่อนนำเสนอวิจัยกันดี
   อาจารย์ (Teachers) อาจารย์มีการอธิบายและเชื่อโยง และยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น มีการถามเพื่อให้ได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น