วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

วัน/เดือน/ปี 3 ธันวาคม  2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20.

ความรู้ที่ได้รับ

  •      วันนี้อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการนำกิจกรรมต่างๆ ในงานวิจัย และในโทรทัศน์ครู ว่าควรนำไปใช้ในช่วงใด หน่วยใด


สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ในอนาคตข้างหน้า

ประเมินหลังการเรียน

ตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมดี
เพื่อน  แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์ดี
อาจารย์  อาจารย์นำความรู้มาให้กับทุกคนอย่างเต็มที่ และมีการใช้คำถาม-ตอบ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิดมากขึ้น

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

วัน/เดือน/ปี  27  พฤศจิกายน  2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20.

ความรู้ที่ได้รับ


สรุปงานวิจัย
  • นางสาวจิตติกา จันทร์สว่าง
งานวิจัยเรื่อง การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • นางสาวศิริพร โพธิสาร
งานวิจัยเรื่อง ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเรียนวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย
  • นางสาวณัฐพร ศิริตระกูล
งานวิจัยเรื่อง ผลของกิจกรรมการทดลองที่ีต่อทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและการจำแนกของเด็กปฐมวัยโดยใช้การทดลอง
สรุปโทรทัศน์ครู
·         นางสาวช่อผกา ปิติถาโน  - จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย
·         นางสาวพัชราวรรณ วารี - สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
·         นางสาววิมวิภา เลือดนักรบ - อนุบาล 3 เรียนวิทยาศาสตร์สนุกๆ
·         นางสาวอชิรญา ไกลคำทูล - การสอนสัปดาห์วิทยาศาสตร์ในเด็กปฐมวัย
·         นางสาวพัชยา เสียงเพราะ - เรือสะเทินน้ำสะเทินบก
·         นางสาวสุรีพร แสงลำพู - ขวดปั้มและลิปเทียน
·         นางสาวสรัญชนา ทรงรูป - บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
·         นางสาวสุวิมล หาดซาย - บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอนพลังจิตคิดไม่ซื่อ
·         นางสาวสุจิตรา สุวรรณรัตน์ - นม สี น้ำยาล้างจาน กับเด็กปฐมวัย
·         นางสาวปวิชญา กันทะเนตร - บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอนทะเลฟองสีรุ้ง
·         นางสาวนิลาวัลย์ ตระกูลเจริญ - สนุกวิทย์คิดทดลอง
·         นางสาวกัญญา แสนยามูล - บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอนทอร์โดมหาภัย
·         นางสาวกรองกาญจน์ นิลผาย - บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอนความลับของใบบัว
·         นางสาวพัชริดา พุฒิธรรมพงษ์ - การทดสอบความแข็งของวัตถุ

การประเมินหลังการเรียน
ตนเอง   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังเพื่อนและฟังอาจารย์ดี
เพื่อน  ตั้งใจเรียน มีความสนใจฟังเพื่อนๆ แต่งกายเรียบร้อย
อาจารย์  วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และนำความรู้มาสอนอย่างเต็มที่

วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย เรื่อง ผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย

สรุปวิจัย
เรื่อง ผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย  นางสาวเสาวภาคย์   สว่างจันทร์

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
เพื่อศึกษาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
ขอบเขตของการวิจัย
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชายและหญิงที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนวัดเลียบ จังหวัดสงขลา  จำนวน 20 คน
ระยะเวลาในการทำวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ระยะเวลาในการทดลองเป็น 8 สัปดาห์  สัปดาห์ 3 วันวันล่ะ 45 นาที รวมเวลาสอนทั้งสิ้น 24 วัน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.            ในแนวทางสำหรับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ไปพัฒนาทักษะการจำแนก
2.            ได้แนวทางสำหรับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องในการนำกิจกรรมที่ใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ไปประยุกต์ใช้  เพื่อพัฒนาทักษะด้านอื่นๆ ของเด็กปฐมวัย
                                             
       สมมุติฐานของการวิจัย
เด็กปฐมวัยมีทักษะการจำแนกสูงขึ้นหลังจากได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
นิยามศัพท์เฉพาะ
เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กปฐมวัยชายและหญิงที่มีอายุระหว่าง  5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนวัดเลียบ  จังหวัดสงขลา
กระบวนการสืบเสาะหาความรู้  หมายถึง  กระบวนการที่ส่งเสริมให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ในสิ่งต่างๆด้วยตนเอง โดยมีขั้นตอน 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย
1.            ครูและเด็กเป็นผู้ตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์
2.            เด็กสำรวจตรวจสอบรวบรวมข้อมูล
3.            เด็กสามารถตอบคำถาม  สร้างคำอธิบายอย่างมีเหตุผล
4.            เด็กนำเสนอผลงานจากการสำรวจตรวจสอบ  โดยการจัดประสบการณ์ผ่านกิจกรรมที่เด็กลงมือปฏิบัติ
ทักษะการจำแนก  หมายถึง  ความสามารถในการจัดกลุ่ม  เรียงลำดับและหาความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ  สถานที่ต่างๆ  สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและปรากฏการณ์ธรรมชาติ โดยมีกฎเกณฑ์ความเหมือนความต่างหรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง  ซึ่งสามารถวัดได้ด้วยแบบประเมินทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.            แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้  เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนก  จำนวน 24 แผน
2.            แบบประเมินทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย  โดยใช้การจำลองสถานการณ์ในการประเมินทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย
สรุปผลการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัยโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้  มีวัตถุประสงค์ในการทำวิจัย คือ เพื่อศึกษาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
สรุปผลการจัดกิจกรรม
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้มีคะแนนทักษะการจำแนกหลังได้รับการจัดประสบการณ์โดยการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์โดยการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้  และจากการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมพบว่า ทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยการใช้กระ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

วัน/เดือน/ปี  20  พฤศจิกายน  2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20.

ความรู้ที่ได้รับวันนี้
อาจารย์ได้แบ่งประเภทของเล่นวิทยาศาสตร์ว่ามีกี่ประเภท
  1. การเกิดจุดศูนย์ถ่วง
  2. การใช้แรงดันลม
  3. การใช้เสียง
  4. การใช้แรงดันน้ำ
  5. การใช้พลังงาน/การเกิดแรง
  6. การเข้าตามมุม
หลังจากนั้น เพื่อนได้นำเสนอวิจัยโดยมีรายชื่อดังนี้
  1. นางสาวชนากานต์  มีดวง  เรื่อง การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยใช้ศิลปะสร้างสรรค์ในการเรียนรู้
  2. นางสาวธิดารัตน์    สุทธิพล   เรื่อง  ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาการจำแนกของเด็กปฐมวัย
  3. นางสาวสุทธิดา   คุณโตนด  เรื่อง  ผลการบันทึกประสบการทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย
  4. นางสาวธนภรณ์  คงมนัส  เรื่อง  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการทำกิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระยวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผ่น
หลังจากที่เพื่อนนำเสนอวิจัยเสร็จอาจารย์ได้เตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาได้ทำบัพเฟิลกัน โดยแบ่งให้กลุ่มละ 6 คน

เตรียมอุปกรณ์และผสมแป้ง+ไข่ไก่ 1 ฟอง + เนย

นำส่นผสมที่เข้ากันแล้วมาใส่ในเครื่องทำบัพเฟิล

เมื่อเสร็จแล้วจะได้น่าตาออกมาเป็นแบบนี้ พร้อมรับประทานค่ะ



กิจกรรมในครั้งนี้ สามารนำไปประกอบอาชีพได้ เพื่อหารายได้ในระหว่างเรียนค่ะ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

วัน/เดือน/ปี  13  ตุลาคม  2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20.

วันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียน เนื่องจากดิฉันไม่สบาย จึงได้นำสรุปในการเรียนวันนี้มาจาก  
นางสาวจิตราภรณ์   นาคแย้ม


ความรู้ที่ได้รับ (knowledge)


วันนี้เป็นการนำเสนองานวิจัยของเพื่อน โดยงานวิจัยที่เพื่อนๆนำเสนอ มีดังนี้
1.) เรื่อง การส่งเสริมทักษะการสังเกต โดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา

        : โดยงานวิจัยนี้จะใช้เกมการศึกษามาใช้ในการวิจัยเพื่อเพิ่มทักษะการสังเกตให้้กับเด็กเมื่อได้เล่นเกมการศึกษา

2.) เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลลังจากการเล่านิทาน

          : งานวิจัยชิ้นนี้จะใช้นิทานเพื่อนำมาพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คือ ทักษะการสังเกต การจำแนก และการสื่อสาร จากการใช้นิทาน
       
3.) เรื่อง การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็ก นักวิจัยที่มีผลต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

          :งานวิจัยนี้จะใช้แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาเพื่อเปรียบเทียบทักษะทางกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการเรียนรู้แบบนักวิจัยก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง

4.) เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

          :งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการสอนเด็กเรื่องสีจากธรรมชาติโดยให้ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้ คือทักษะการสังเกต การจำแนก มิติสัมพันธ์ และทักษะการลงความเก็น

5.) เรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ

         :งานวิจัยชิ้นนี้จะใช้แผนโดยเน้นให้เด็กลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยผ่านทักษะกระบวนทางวิทยาศาสตร์ คือ ทักษะการจำแนก การวัดปริมาน มิติสัมพันธ์ และการลงความเห็น

6.) เรื่อง การคิกวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

           :ในวิจัยชิ้นนี้เป็นการให้เด็กได้ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาสาสตร์คือ ทักษะการฟัง การสังเกต คิดแก้ปัญหา และทักษะการใช้เหตุผล

7.) เรื่อง การคิดย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

            :งานวิจัยชิ้นนี้ ใช้แผนการจัดกิจกรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อวิจัยการคิดอย่างมีเหตุผลหลังจากการทำกิจกรรม
 การนำไปประยุกต์ใช้ (apply)

         ในงานวิจัยที่ได้มีผู้ได้ศึกษาไว้แล้วมีผลสรุปออกมาในทางที่ดีขึ้นหรือตรงตามจุดประสงค์ เราก็สามารถนำตัวกิจกรรมต่างๆที่ผู้วิจัยได้ใช้มาเพื่อนำมาจัดกิจกรรมให้กับเด็ก เพื่อพัฒนาและส่งเสริมทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กได้


การประเมินหลังเรียน (assessment)
   ตนเอง (Me) เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานวิจัย มีการจดบันทึกวิจัยที่เพื่อนนำเสนอ มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกันในห้อง 

    เพื่อน (Friends) ส่วนมากเข้าเรียนกันตรงเวลา มีการเตรียมตัวในการนำเสนองานวิจัยกันมาค่อนข้างดี และตั้งใจนำเสนองานและฟังเพื่อนนำเสนอวิจัยกันดี
   อาจารย์ (Teachers) อาจารย์มีการอธิบายและเชื่อโยง และยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น มีการถามเพื่อให้ได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

วัน/เดือน/ปี 6 พฤศจิกายน  2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20.

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
       วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยมีหน่วยต่างๆดังนี้

1.     ชนิดของกล้วย (Species of Banana)
2.     ลักษณะของไก่ (Character of Chicken)
3.     การดำรงชีวิตของกบ (Life of Frog)
4.     ประโยชน์ของปลา (Benefits of Fish)
5.     การประกอบอาหาร ข้าว (Cooking)
6.     ชนิดของต้นไม้ (Species of Tree)
7.     ลักษณะของนม (Characteristics of Milk)
8.     การดูแลรักษาน้ำ (Water Treatment)
9.     การเพาะปลูกมะพร้าว (Coconut Cultivation)
10.   การประกอบอาหาร ผลไม้ (Cooking)
โดยกลุ่มของดิฉันสอนเรื่อง การดำรงชีวิจของกบ (Life of Frog) ผู้สอนคือ นางสาวจิตราภรณ์ นาคแย้ม


          ในการสอนของกลุ่มดิฉัน ใช้ Video มาเป็นขั้นนำ โดยมีการเกริ่นนำเพื่อเข้าสู่วิดีโอโดยการใช้คำถามกับเด็กๆ จากนั้นเข้าสู่ขั้นสอนด้วยการทบทวนเรื่องของวิดีโอที่เด็กดู พร้อมทั้งนำรูปภาพมาให้เด็กดูและใช้คำถามกับเด็กและขั้นสรุป โดยการร่วมกันสรุปเรื่องการดำรงชีวิตของกบให้กับเด็ก


      เทคนิคในการสอน
       อาจารย์ให้เทคนิคการใช้คำถามปลายเปิด การสืบค้นหาความรู้ด้วยตนเอง และการลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้ได้เห็นข้อผิดพลาด และอาจารย์ก็ให้คำแนะนำโดยการเสนอวิธีการสอนแบบต่างๆ
      การนำไปประยุกต์ใช้
      จากการเรียนในวันนี้สามารถนำเอาเทคนิคการสอนของเพื่อนๆไปปรับใช้ในการสอนในอนาคตได้ และสามารถนำเอาคำแนะนำต่างๆที่อาจารย์ให้ไปปรับใช้ในการทำงานในภายภาคหน้าได้

ประเมินหลังการเรียนAssessment
     ตนเองMe - วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา และก็มีการเตรียมการนำเสนอการสอนของกลุ่มมาเป็นอย่างดี และให้ความร่วมมือขณะที่เพื่อนสอน
     เพื่อนFriends - วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา และมีการเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี อาจจะมีบางกลุ่มที่ไม่เข้าใจจึงทำให้เตรียมการสอนมาผิด
      อาจารย์ Teacher - วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และอาจารย์ก็ให้คำแนะนำหลังจากการนำเสนอการสอนเป็นอย่างดี พร้อมทั้งยกตัวอย่างการสอนในหลายหลายเทคนิค